SHOCKDEE AED Hero ทำให้หัวใจของคุณกลับมาเต้นใหม่ได้อีกครั้ง จุดประกายเพื่อ หัวใจของคุณ อย่าปล่อยให้ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน มีโอกาสทำร้ายคุณและคนที่คุณรักค้นหาเครื่องเออีดี พบเจอเครื่องเออีดีรายงานที่ตั้งเครื่องเออีดี
ShockDee On Youtube
ShockDee Google Play Store
ShockDee App Store
ShockDee English ShockDee Thai

อาการของภาวะ สมองขาดออกซิเจน

อาการของภาวะ สมองขาดออกซิเจน

อาการของภาวะ สมองขาดออกซิเจน

        สมองขาดออกซิเจน (Cerebral Hypoxia) คือ อาการที่สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลให้ร่างกายของเรามีออกซิเจนต่ำลง ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายอย่างอาการหายใจสั้นและถี่ ความจำเสื่อมชั่วคราว ชัก หรืออาจหมดสติได้ส่วนต่าง ๆ ของสมองที่ไวต่อการขาดออกซิเจนนั้นแตกต่างกัน

·       สมองกลีบขมับ (Temporal lobe) เป็นส่วนที่ไวต่อการขาดออกซิเจนเร็วที่สุด (เกิดอาการผิดปกติเร็ว และได้รับผลกระทบมากที่สุด) โดยเฉพาะส่วน ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ส่ง ผลให้มีปัญหาในส่วนความจำ การ คิด การสั่งการ การจัดการ

·       สมองส่วนซีรีเบลลั่ม/สมองน้อย (Cerebellum) ส่งผลให้มีอาการ เซ การทรงตัวผิดปกติ

·       สมองส่วนเบซัลแกงเกลีย (Basal ganglia) ส่งผลให้มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ

·       สมองใหญ่ส่วนที่เรียกว่า กลีบหลัง/กลีบท้ายทอย (Occipital lobe) ส่งผลให้มีปัญหาด้านการมองเห็น ได้แก่ ลานสายตาผิดปกติ หรือตาบอดได้

อาการของสมองขาดออกซิเจน

ผู้ที่มีภาวะสมองขาดออกซิเจนจะมีอาการแสดง แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาที่สมองขาดออกซิเจน โดยอาจแสดง อาการเบื้องต้น เช่น รู้สึก   มึนงง   สับสน   มีเหงื่อออกมาก การตัดสินใจแย่ลง เคลื่อนไหวลำบาก ขาดสมาธิ ความจำเสื่อมชั่วคราว    แต่หากสมองขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

1.    หายใจสั้น เร็ว ติดขัด เสียง หายใจมีเสียงหวีด

2.    ดวงตาไม่มีปฏิกิริยาต่อแสง

3.    ชีพจรเต้นเร็ว

4.    ชักเกร็งกระตุก

5.    ลักษณะผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ

6.    หมดสติ

7.    หยุดหายใจ และเสียชีวิต

 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้สมองขาดออกซิเจน

·       กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว

·       ได้แก่ โรคหลอดเลือด โรคหอบหืด โรคความดันโลหิตต่ำ โรคโลหิตจาง ปอดบวม โรคถุงลมโป่งพอง ภาวะน้ำท่วมปอด โรคหลอดลมอักเสบ โรค ASL โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น

·       อยู่ในสถานที่ที่มีออกซิเจนน้อย

·       ชอบเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมหนัก ๆ เช่น ว่ายน้ำ ฟุตบอล ดำน้ำ ปีนเขา ต่อยมวย เป็นต้น

·       อุบัติเหตุ เช่น การจมน้ำ หรือสำลักน้ำ

 วิธีป้องกันร่างกายจากภาวะสมองขาดออกซิเจน คือการหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายเหนื่อยเกินไป อยู่ในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก รวมถึงการดูแลสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง เพื่อไม่ให้เกิดโรคประจำตัวในอนาคต หากเกิดภาวะสมองขาดออกซิเจนควรรีบพบแพทย์ในทันที เพื่อทำการรักษา การปล่อยไว้นานอาจส่งผลทำให้สมองตาย และอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วยได้

 CH 9 Airport Hospital

 

Convenience Hospital Company Limited

90/5 Moo 13, King Kaew Rd.,

Tambon Rachadeva, Amphoe Bangplee,

Samutprakarn 10540

Call : +668 0074 8800, +662 115 2111

Fax : +662 738 9740

Line : @ch9airport

Copyright © 2024 Siam Star Adwise. shockdee.com All right reseved.