SHOCKDEE AED Hero ทำให้หัวใจของคุณกลับมาเต้นใหม่ได้อีกครั้ง จุดประกายเพื่อ หัวใจของคุณ อย่าปล่อยให้ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน มีโอกาสทำร้ายคุณและคนที่คุณรักค้นหาเครื่องเออีดี พบเจอเครื่องเออีดีรายงานที่ตั้งเครื่องเออีดี
ShockDee On Youtube
ShockDee Google Play Store
ShockDee App Store
ShockDee English ShockDee Thai

ชีพจรเต้นเร็วอันตรายต่อชีวิตหรือไม่

ชีพจรเต้นเร็วอันตรายต่อชีวิตหรือไม่

ชีพจรเต้นเร็วอันตรายต่อชีวิตหรือไม่
(Is high pulse dangerous?)

ปกติแล้วคนทั่วไปชีพจรจะเต้น 60-100 ครั้งต่อนาที แต่รู้หรือไม่ว่าคนที่มีสุขภาพดีชีพจรจะเต้นต่ำกว่า 90 ครั้งต่อนาที เพราะการที่หัวใจเต้นเป็นปกติดีแสดงถึงความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดต่าง ๆ แล้วถ้าชีพจรเต้นเร็วผิดปกติล่ะ จะมีอันตรายต่อชีวิตหรือไม่

ชีพจรเต้นเร็วเป็นสัญญาณที่ร่างกายบอกอะไรกับเรา

การที่ชีพจรเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาทีนั้นพบว่ามีความสัมพันธ์กับหัวใจที่เต้นเร็ว เนื่องจากหัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะให้ทั่วร่างกาย ถือเป็นหนึ่งในสัญญาณที่เตือนว่าร่างกายมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในทางกลับกัน หากชีพจรเต้นช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที จะทำให้เกิดอาการหน้ามืด หมดสติ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตต่ำได้

วิธีการวัดชีพจรต้องทำอย่างไร

ก่อนที่จะวัดชีพจรต้องงดทำกิจกรรมเคลื่อนไหวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเดิน วิ่ง ขึ้นบันได ยกของหนัก หรือการทำงานหนักที่หัวใจเต้นเร็วแรงขึ้น ดังนั้น ควรวัดชีพจรตอนที่นั่งพักเฉย ๆ มาสักระยะแล้วอย่างน้อย 5-10 นาที รวมถึงการไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนอย่างชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง หากดื่มมาแล้วควรเว้นระยะก่อนวัดชีพจร 1 ชั่วโมงขึ้นไป

วิธีการวัดชีพจรง่าย ๆ ทำได้โดยการวางนิ้วชี้และนิ้วกลางลงบนข้อมือ กดลงไปเบา ๆ จะรับรู้ได้ถึงสัญญาณชีพที่เต้นตุ้บ ๆ อยู่ ให้จับเวลา 30 วินาทีแล้วนับว่าหัวใจเต้นไปกี่ครั้ง จากนั้นนำตัวเลขที่วัดได้มาคูณสอง (x2) ผลลัพธ์ที่ออกมาคือจำนวนการเต้นหัวใจภายใน 1 นาที และเพื่อความแม่นยำแนะนำให้ทำซ้ำอย่างน้อย 2-3 ครั้งแล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย

เคล็ดลับการวัดชีพจรให้ได้ผลดี : ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการวัดชีพจรคือตอนเช้าหลังจากการตื่นนอน แต่หากว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ สามารถตรวจชีพจรอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์โดยวัดชีพจรในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป เช่น หลังตื่นนอนตอนเช้า กลาง เย็น และก่อนนอน จากนั้นนำมาค่าหาเฉลี่ยจะได้ค่าชีพจรที่ถูกต้อง

เมื่อเกิดภาวะชีพจรเต้นเร็วเกินไปจะทำอย่างไรดี

ถ้าชีพจรเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาที วิธีการเบื้องต้นที่สามารถช่วยได้ผลเป็นอย่างดีคือ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยครั้งละอย่างน้อย 30 นาที และอย่าปล่อยให้ตัวเองอ่อนเพลีย ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

อย่าลืมว่าการวัดชีพจรเป็นเพียงการตรวจด้วยตนเองแบบง่าย ๆ เท่านั้น ปัจจัยที่จะให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดยังมีอีกหลายสาเหตุ ถ้าชีพจรเต้นเร็วทุกครั้งที่ทำการตรวจ ร่วมกับอาการเหนื่อยหอบ เจ็บหรือแน่นหน้าอกเมื่อต้องออกแรงทำกิจกรรมต่าง ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจโดยละเอียด

CH 9 Airport Hospital

 

Convenience Hospital Company Limited

90/5 Moo 13, King Kaew Rd.,

Tambon Rachadeva, Amphoe Bangplee,

Samutprakarn 10540

Call : +668 0074 8800, +662 115 2111

Fax : +662 738 9740
Line : @ch9airport

Copyright © 2024 Siam Star Adwise. shockdee.com All right reseved.