SHOCKDEE AED Hero ทำให้หัวใจของคุณกลับมาเต้นใหม่ได้อีกครั้ง จุดประกายเพื่อ หัวใจของคุณ อย่าปล่อยให้ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน มีโอกาสทำร้ายคุณและคนที่คุณรักค้นหาเครื่องเออีดี พบเจอเครื่องเออีดีรายงานที่ตั้งเครื่องเออีดี
ShockDee On Youtube
ShockDee Google Play Store
ShockDee App Store
ShockDee English ShockDee Thai

ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
(Heart attack or acute coronary syndrome)

ไหลตาย – ความตายที่คนตายไม่รู้ตัว

www.shockdee.com

จุด ประกาย เพื่อ หัวใจของคุณ
#AED #เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ #เครื่องช่วยชีวิต #หัวใจ #สุขภาพ #ความงาม
#นักจิตวิทยาการปรึกษา 

ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน คืออะไรและมีสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงจากอะไรบ้าง?

โรคเส้นเลือดหัวใจ เป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลก ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตประมาณ 17.9 ล้านคน หรือประมาณ 31%

 ปัจจัยเสี่ยงของโรคเส้นเลือดหัวใจ ได้แก่ การสูบบุหรี่ พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ขาดการออกกำลังกาย และการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง และโรคอ้วน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตามมาได้

โรคเส้นเลือดหัวใจหรือโรคหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเมื่อหลอดเลือดตีบมากกว่าหรือเท่ากับ 50% ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด สามารถแบ่งกลุ่มอาการได้ 2 กลุ่ม คือ ภาวะเจ็บหน้าอกคงที่ ( Chronic stable angina) และภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute coronary syndrome)

ภาวะเจ็บหน้าอกคงที่นั้นผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกเป็น ๆ หาย ๆ ในระยะเวลา 2 เดือน ส่วนภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง เกิดขึ้นทันทีทันใด หรือมีอาการเจ็บหน้าอกขณะพักนานมากกว่า 20 นาที ลักษณะอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ได้แก่ เจ็บหรือแน่นบริเวณกลางหน้าอก คล้ายของหนักกดทับ อาการสัมพันธ์กับการออกแรง อาจร้าวไปแขน คอ หรือกรามได้ มีช่วงเวลาที่อาการลดลงหรือมีอาการตลอดเวลาได้

อาการอื่นที่เกิดร่วมได้ เช่น เหงื่อออก ใจสั่น เหนื่อย คลื่นไส้อาเจียน วูบเป็นลม หรือปวดท้องได้ ถ้าผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉิน ให้มาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เพื่อตรวจสัญญาณชีพ ตรวจร่างกาย ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และตรวจเลือดดูเอนไซม์หัวใจ ถ้าพบว่าอยู่ในกลุ่มโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน จะต้องทำการรักษาโดยการขยายหลอดเลือดหัวใจแบบเร่งด่วน แต่ถ้าพบว่าอยู่ในกลุ่มโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ จะต้องทำการรักษาด้วยยา และตรวจการทำงานของหัวใจเพิ่มเติม แล้วทำการขยายหลอดเลือดต่อไป

Copyright © 2024 Siam Star Adwise. shockdee.com All right reseved.