SHOCKDEE AED Hero ทำให้หัวใจของคุณกลับมาเต้นใหม่ได้อีกครั้ง จุดประกายเพื่อ หัวใจของคุณ อย่าปล่อยให้ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน มีโอกาสทำร้ายคุณและคนที่คุณรักค้นหาเครื่องเออีดี พบเจอเครื่องเออีดีรายงานที่ตั้งเครื่องเออีดี
ShockDee Google Play Store
ShockDee App Store
ShockDee English ShockDee Thai

ภาวะช็อก

ภาวะช็อก

ภาวะช็อก
 ภาวะช็อก” นั้น เป็นเรื่องปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที เพราะ ภาวะช็อก ในทางการแพทย์เราหมายถึง ภาวะที่เนื้อเยื่อของร่างกายมีการขาดออกซิเจน (Tissue hypoxia) ซึ่งสามารถแบ่งได้ตามสาเหตุการเกิด ดังนี้

 

1. ภาวะช็อกจากการขาดสูญเสียสารน้ำหรือเลือด (Hypovolemic shock) เช่น การสูญเสียสารน้ำจาก การอาเจียน ถ่ายเหลว การสูญเสียเลือดจากการประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น

2. ภาวะช็อกจากโรคหัวใจ (Cardiogenic shock) เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจทำงานล้มเหลวจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง เป็นต้น

3. ภาวะช็อกจากการขยายตัวของหลอดเลือด (Distributive shock) ซึ่งมีผลทำให้หลอดเลือดสูญเสียการตึงตัว ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้ลดลง ซึ่งมีหลายสาเหตุ เช่น ภาวะช็อคจากพิษเหตุติดเชื้อ (Septic shock) ปฏิกิริยาการแพ้รุนแรงชนิด Anaphylaxis ภาวะความผิดปกติของระบบประสาท ความผิดปกติของโรคต่อมไร้ท่อบางชนิด

4. ภาวะช็อกจากการอุดกั้น (Obstructive shock) ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุจากภายนอกหัวใจ ทำให้การบีบตัวของหัวใจล้มเหลว เช่น ภาวะลมรั่่วในเยื่อหุ้มปอด ภาวะบีบรัดหัวใจ จากของเหลวปริมาณมากอยู่ในถุงเยื่อหุ้มหัวใจ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด ภาวะความดันในหลอดเลือดแดงปอดสูง เป็นต้น

5.  ภาวะช็อกจากสาเหตุอื่นๆ

อาการของภาวะช็อก ขึ้นอยู่กับสาเหตุของภาวะช็อค และอวัยวะที่เกิดผลกระทบจากภาวะช็อค โดยส่วนใหญ่ ผู้ป่วยจะมีอาการของภาวะความดันโลหิตที่ต่ำลง เช่น ซึมลง หมดสติ ตัวเย็น มือเท้าเย็น หัวใจเต้นเร็ว ปัสสาวะออกน้อยลง หอบเหนื่อย เป็นต้น

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการช็อกจากสาเหตุของการติดเชื้อ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการผิดปกติบางอย่างที่อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะช็อก ได้แก่

1. อาการทั่วไปของการติดเชื้อ เช่น มีไข้ หายใจเร็ว หอบเหนื่อย ใจสั่น

2. อาการเฉพาะที่ของแหล่งติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อที่ปอด มีอาการไข้ ไอ หอบ หรือ กรณีมีการติดเชื้อที่ระบบขับปัสสาวะ จะมีอาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะขุ่น ปวดบั้นเอว เป็นต้น

3.  อาการแสดงทางผิวหนัง ส่วนใหญ่จะพบเป็นตุ่มหนอง เป็นผื่นแดง เป็นตุ่มตามผิวหนัง ซึ่งเกิดจากการกระจายเชื้อมาที่ผิวหนัง

4.  อาการที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อ เช่น อาการแสดงของการทำงานล้มเหลมของอวัยวะต่างๆ เช่น ปัสสาวะออกน้อยลงจากไตเสื่อมฉับพลัน ซึมลง หรือสับสน เป็นต้น
การป้องกันตนเองจากภาวะช็อกจากพิษเหตุติดเชื้อ (Septic shock)

 

1. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง

2. ออกกำลังกายเป็นประจำ

3. รับประทานอาหารสุก สะอาด ล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ

4. รักษาและควบคุมโรคประจำตัวให้ดี

5. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่ป้องกันได้ เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ เป็นต้น

6. มาพบแพทย์เมื่อสงสัยภาวะติดเชื้อตั้งแต่ระยะแรกๆ เช่น เมื่อมีอาการไข้ เป็นต้น

พญ. กัญญวิสาข์ ตั้งกิจวณิชย์เจริญ
อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ

Copyright © 2024 Siam Star Adwise. shockdee.com All right reseved.